วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สองฟากฝั่งถนน ณ ปากแพรก



ณ ปากแพรก... เมื่อเดินไปตามถนน เราจะพบเห็นป้ายสีเหลืองตั้งอยู่หน้าบ้านบางหลังที่ได้อนุรักษ์ไว้ ป้ายนี้บอกชื่อบ้าน เจ้าของ  อายุของบ้าน ช่วงเวลาที่สร้างรวมถึงรูปแบบของบ้านว่าสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบใด...

บางบ้านก็นำมาดัดแปลงใหม่ ทาสีสดใสตัดกัน



ความน่ารักของย่านนี้อยู่ที่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สอดแทรกอยู่ตามตึกรามบ้านช่องต่างๆ ลวดลายเอย กิมมิคน่ารักๆ อย่างป้ายร้านศิริชุมแสงร้านขายปืนที่ขายกันมาตั้งแต่รุ่นทวดและยังคงขายมาจนถึงปัจจุบัน หรือลวดลายแพตเทิร์นเก๋ๆ ดูแล้วจีนจ๋าๆ เยาวราชชิกๆ (สร้อยจะเยอะไปไหน) อีกจำนวนหนึ่ง เรียกได้ว่าแหงนหน้างอคอตั้งดูไม่เบื่อแน่นอน

บ้านสิทธิสังข์ มีโปสการ์ดเล่าเรื่องราวและบอกความคิดถึง ยังคงเป็นของที่ระลึกยอดนิยม



ร้านบุญเยี่ยมเจียระไน (คุ้มจันทร์ศิริ)จากฝั่งตรงข้ามบ้านบุญผ่องฯ ที่เป็นร้านบุญเยี่ยมเจียระไน (คุ้มจันทร์ศิริ) อันสวยงามโดดเด่นด้วยช่องโค้งตั้งรับเสาที่ระเบียง



ติดกับชวนพานิชคือร้านมาโนชราดิโอ  ที่เจ้าของร้านเป็นญาติกับลุงสุรพล ซึ่งต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาจังหวัด เมื่อก่อนใครอยากทันสมัยก็ต้องมาที่นี่ แต่วันนี้ที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตคืบคลานมาเยือน คงไม่มีใครถวิลหาร้านค้าที่มีสัมพันธภาพระหว่างคนซื้อคนขายแบบนี้อีกแล้วกระมัง



ถัดมาเป็นตึกของร้านหาดใหญ่2 เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นสมัยทวด(รุ่นทวด) เป็นตึก3ชั้น มีดาดฟ้าเป๊นชั้นลอยครับ เป็นตึกที่เคยสร้างความเป็นนามสกุล สมประสงค์ นั่นเอง 

บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้นสวยเนี้ยบ บ่งบอกว่าผู้ต่อยอดดูแลให้ความใส่ใจบ้านหลังนี้เพียงใด...อยู่ตรงกันข้ามกับโรงแรมกาญจนบุรี คือ บ้านที่มีชื่อว่า บ้านฮั่วฮง บ้านเก่าแก่อีกหลังหนึ่ง  ซึ่งในปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นร้านขายกาแฟและเบอเกอรี่   สไตล์การตกแต่งร้านออกแนวผสมศิลปะแบบจีน




คุณป้าวิไล นัยวินิจ ชวนผมเข้าไปนั่งที่บ้านฮั้วฮงที่ฝั่งตรงข้ามโรงแรม บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นของคุณป้าสวยเนี้ยบ ไม่เคยห่างหายการดูแล เชิงชายที่หล่อเป็นปูนประดับนั้นน่ามองพอๆ กับบานประตูสีสวยเหยียดยาว 3 ห้องที่ชั้นสอง บนดาดฟ้ามีลวดลายและตัวอักษรจีนเขียนไว้ว่า "ตั้งฮั้วเฮง" อันหมายถึงผู้สร้างที่เป็นคนรุ่นปู่ทวด


ถัดจากบ้านฮั้วฮงมาไม่ไกล ติดกันกับศิวภา ชุดห้องแถวสีแดงหม่นที่เก็บความสวยไว้ที่การก่ออิฐตามผนังและป้านร้านแสนคล้าสสิก ตรงข้ามกับก๋วยเตี๋ยวหมูเจ้าอร่อยของปากแพรกคือบ้านแต้มทอง

ที่นี่มี ร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าเป็ด หมูสะเต๊ะ หมูแดง ก๊วยจั๊บ ราดหน้า(ขึ้นชื่อ) ขนมหวาน(อายุอีกไม่กี่ปีก็ครึ่งศตวรรษแล้ว...อาร่อยมาก) กะหรี่พัฟเจ้าเก่า...



ท้ายๆถนนปากแพรก จะพบบ้านสุธีสวยเหงาอยู่ในรูปแบบบ้านทรงปั้นหยา มองผ่านซุ้มประตูขึ้นไปเห็นลายปูนปั้นเครือเถาตรงมุขหน้าจั่วแทรกคำว่า "ธนโสภณ" ไว้ตรงกลาง อันเป็นชื่อสกุลของนายโหงวฮก ธนโสภณ ผู้สร้างบ้านก่ออิฐถือปูนแสนโอ่อ่าหลังนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6

ตึกสองชั้น ก่ออิฐถือปูน ในอดีตคงต้องหรูมาก บ้านหลังนี้เขียนว่า "บ้านธนโสภณ" ซึ่งผู้เป็นเจ้าของมิได้อยู่อาศัย ณ ที่นี้แล้ว...เป็นตึกที่สวยหลังหนึ่ง

เฮอ!!!เสียดายจัง...เฮอ!!!เสียดายจริง

Ref.ปากแพรก ถนนสายสั้น คืนวันทอดยาว
แหล่งเรียนรู้ บนถนนสายแรก ปากแพรก กาญจนบุรี
ปากแพรกและละแวกเมือง ๒

สถาปัตยกรรม ณ ปากแพรก




ชุมชนปากแพรก ถือเป็นชุมชนเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของกาญจนบุรี โดยปัจจุบันบ้านหรือตึกบางหลังก็ยังคงสภาพบ้านเรือนให้ใกล้เคียงกับในอดีต บางหลังก็ปรับปรุง หรือสร้างใหม่แทนหลังเดิมไปแล้ว โดยหน้าบ้านหลังยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้เราได้ศึกษา

ถนนปากแพรก ย่านชุมชนเก่าแก่ของเมืองกาญจน์ที่ขนานไปกับน้ำแควใหญ่ ใกล้กำแพงเมือง มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์พร้อมกับสร้างเมืองในยุคแรกๆ ความสำคัญของเมืองกาญจนบุรีในประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ นั้น เมืองนี้คือเมืองหน้าด่านที่สำคัญ เปรียบเสมือนแนวกันชนระหว่างอยุธยากับพม่าครับ 



ยุคถัดๆ มากาญจนบุรีก็จะเริ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จนกลายเป็นที่เที่ยวยอดฮิตติดอันดับของฝรั่งผู้นิยมมาท่องเที่ยวเมืองไทยกัน

สะพานแม่น้ำแควเอยส้นทางรถไฟสายมรณะเอย สุสานทหารสัมพันธมิตรเอย ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ในระดับ The Must ที่หนังสือ Lonely Planet แนะนำให้มาครับ



ที่นี่มีบ้านแบบฝรั่งปนจีนสวยๆที่ปากแพรก สิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ มีทั้งโบราณสถาน บ้านเรือนร้านค้าแบบไม้และตึก ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงแบบจีนและตะวันตก ก่อสร้างอยู่รวมกันตลอดเส้นทางสายนี้ เป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร
รายละเอียดของความสวยงามในอดีต เสมือนป็นตัวแทนที่บอกเล่าโดย อิฐ ไม้ วงกบ บานแฟ้ม หรือแม้แต่ กลอนประตู.. บ้านของตระกูลเก่าแก่ บ้านคหบดีเก่า เคหาสถ์ที่สวยงามโอ่อ่าในครั้งกระโน้น...

โครงสร้างและสถาปัตยกรรมที่มีคุณสมบัติของตัวเองที่ไม่ซ้ำกันซึ่งเป็นที่น่าสนใจมาก.... ผมชอบโครงสร้างในทุกที่เพราะมันทำให้ผมนึกถึงโลกเก่าที่ถูกระงับไว้ในเกาลวลา...



Ref.
ปากแพรกและละแวกเมือง ๒
บ้านคหบดี.......... ความสวยงามในเงาอดีต ย่านถนนปากแพรก ตลาด 177ปี


ท่องเที่ยวไปในปากแพรก





ด้วยความเข้มขลังของตึกรามบ้านช่องแบบเก่าๆ  ดั้งเดิม...หากได้มีโอกาสมาเดินปากแพรก แนะนำให้บริหารคอมาสักนิดครับ เพราะของดีๆ มันจะอยู่บนๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ ลายฉลุไม้เอย ระเบียงเอย มีแต่ความสวยงาม "น่าประทับใจ" ทั้งนั้น ที่ผมเน้นคำว่าน่าประทับใจ ไม่ใช่เพราะอะไรครับ เพราะถ้าได้อ่านป้ายไวนิลแนะนำบ้านอาคารเก่าแต่ละหลัง ชุดคำพูดส่วนใหญ่มักจะมีคำว่าน่าประทับใจปรากฏอยู่เสมอ ซึ่งก็ชวนให้น่าประทับใจจริงๆ แหละ



 บรรยากาศของย่านนี้ยังคงปกติเหมือนเดิม คือไม่ดูเป็นย่านที่เมคมากไป ผู้คนยังใช้ชีวิตตามปกติ ฟีลคล้ายโพธารามที่ราชบุรี คือชาวบ้านเค้ารวมตัวกัน เพื่อฟื้นฟูดูแลอนุรักษ์สิ่งดีๆ ให้คงไว้ ไม่ใช่เพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่เป็นการทำเพื่อให้ลูกหลานบ้านนี้เมืองนี้ได้รับรู้เรื่องราวที่ผ่านมายาวนานของย่านนี้



นอกจากนี้ยังมีอาคารที่น่าสนใจอื่น ๆ อาทิ ศาลเจ้าแม่กวนอิม บ้านคชวัตร บ้านเดิมของสมเด็จพระสังฆราช บ้านชวนพานิช ร้านบุญเยี่ยมเจียระไน ฯลฯ

การได้ลองมาเดินเล่นย่านเก่าแบบนี้ทำให้ผมเดินช้าลงกว่าที่เคยเดินในกรุงเทพฯ นึกได้ว่าตอนที่เดินในกรุงเทพฯ ผมมักจะไม่ค่อนสนใจสองข้างทางมากนัก เพราะมันเต็มไปด้วยภาพน่าเบื่อแสนชินตา แผงลอยเดิมๆ ฟุตบาทเดิมๆ ผู้คนเดิมๆ ที่ผมไม่คิดจะทำความรู้จัก ในขณะที่เมื่อได้ลองเดินในย่านปากแพรกนี้

นอกจากที่ผมจะเดินช้าลงแล้ว ละเมียดข้างทางมากขึ้นแล้ว อยากพบปะทำความ รู้จักผู้คนสองข้ามทางมากขึ้นแล้ว ผมยังสบายใจมากกว่าอยู่ในกรุงเทพฯมาก

ผมค้นพบว่าการได้มาเป็นคนแปลกที่แปลกถิ่น คือสิ่งหนึ่งที่คนเบื่อเมืองควรกระทำเลยลองมาคิดดูว่า ถ้าเราคิดว่าเราเป็นคนแปลกที่แปลกถิ่นในเมืองดูบ้างล่ะ มันจะเป็นอย่างไร?



แม่น้ำสองสี..ไปรษณีย์..ประตูเมือง..




แม่น้ำ"แม่กลอง"...ต้นกำเนิดจากแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย (สีขุ่น) ไหลมาจากทิศเหนือด้านอำเภอทองผาภูมิซึ่งมีเขื่อนวชิราลงกรณ์กั้นอยู่ช่วงอำเภอทองผาภูมิ ไหลผ่านอำเภอไทรโยคจนมาถึงเมืองกาญจนบุรี

ส่วนแม่น้ำแควใหญ่ (น้ำใส) ไหลมาจากทิศเหนือเหมือนกัน ด้านอำเภอศรีสวัสดิ์ ถูกกักไว้ด้วยเขื่อนศรีนครินทร์ ครับ ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำแควน้อยที่ "บ้านลิ้นช้าง" (ฝั่งตรงกันข้ามกับปากแพรก) เรียกขานนามบริเวณที่แม่น้ำ 2 สายบรรจบกันว่า "ปากแพรก"

รวมกันไหลลงใต้ เรียกว่าแม่น้ำ "แม่กลอง" เมื่อนั่งเรือไปที่บริเวณ"ปากแพรก"ดังกล่าว จะเห็น น้ำสีขุ่นกับน้ำใส ผสมกัน แรกๆก็คนละสี แต่ในที่สุดก็"กลมกลืน"กันได้ แม่กลองเป็นแม่น้ำที่เลี้ยงชีวิตคนกรุงเทพฯครับ



จุดแรกที่ผมเดินผ่านคือไปรษณีย์หน้าเมืองครับ จากป้ายประวัติด้านหน้าบอกกับเราแค่เพียงว่าอาคารไม้เก่าแก่รูปทรงธรรมดาๆ อาคารนี้คือที่ทำการไปรษณีย์ในยุคแรกของเมืองกาญจนบุรี สภาพปัจจุบันถูกปล่อยทิ้งร้าง ผมลองแอบเมี่ยงๆ มองๆ ส่องดูข้างใน พบว่าค่อนข้างมืดและหลอน ….



ถัดมาคือ ...ประตูเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่บริเวณชุมชนปากแพรก เป็นประตูเมืองก่ออิฐถือปูนยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อปี พ.ศ. 2374 ครั้งย้ายเมืองกาญจนบุรีเก่า จากตำบลลาดหญ้ามาสู่ปากแพรก เนื่องด้วยยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยมีชัยภูมิในการตั้งรับข้าศึกได้ดีกว่าเก่า อีกทั้งยังสะดวกในการค้าขายกับเมืองต่างๆอีกด้วย




และประตูเมืองนี่หละที่บอกถึงความเก่าแก่ของเมืองกาญจน์ที่เริ่มตั้งเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2374  ใกล้กับประตูเมืองก็เป็นที่ตั้งของศาลหลังเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รู้ยังไง???? ซ่อมแซมสร้างใใหม่เป็นปีๆกว่าจะแล้วเสร็จ...เฮอ!!! ตรูหละเบื่อ....


กำเหนิดปากแพรก...ยุคเมืองกาญจนบุรี



ปากแพรกเริ่มปรากฎชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



กาญจนบุรีมีหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับมาจากสมัยขอมเรืองอำนาจ ยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผมรับรู้จากชั่วโมงสังคมสมัยประถมว่า นี่คือเมืองหน้าด่านสำคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของไทย และเป็นสมรภูมิระหว่างไทยกับพม่าอยู่เนืองๆ อิทธิพลของสงครามทำให้เกิดการอพยพโยกย้าย รวมไปถึงการกวาดต้อนเทครัว จึงไม่แปลกที่กาญจนบุรีจะเป็นแหล่งรวมของคนหลายเชื้อชาติ ทั้ง ไทย มอญ ญวน จีน  ปกากะญอ




ถนนปากแพรก เป็นถนนเส้นแรก ที่สร้างในตัวเมืองกาญจน์ หลังจากย้ายขยับมาจาก ต.ลาดหญ้า เพื่อใช้แม่น้ำแควเป็นแนวรับจากการโจมตีของพม่า

โดยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้ก่อตั้งตำแหน่งตัวเมืองนี้ใหม่




ณ ตำบลริมน้ำแควใหญ่อย่างปากแพรก กลายเป็นเมืองกาญจนบุรีใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2374 ป้อมปราการ กำแพงเมืองต่างๆ คือสิ่งตกทอดสู่คนรุ่นหลัง ถนนปากแพรก ชุมชนเก่าที่มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานทอดยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ และแม่กลอง ที่เป็นทางคมนาคมทางน้ำสายประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอดีต

และที่สำคัญ การลงหลักปักฐานของผู้คนรายรอบล้วนก่อให้เกิด "เมือง" ขึ้นมาตามกาลเวลา

และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเจริญเติบโตของย่านปากแพรก...ณ กาญจนบุรีเมืองใหม่


คุยกันบางทีที่ลุงสุรพลก็ว่า "ที่นี่มันเกิดมาแบบเครือญาติ ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน" หากการก่อเกิดของย่านสักแห่งมีที่มาเช่นนี้ คงไม่แปลกที่ใครสักคนอาจไม่เลือกจากไปไหนแม้ในบั้นปลายชีวิตเลาะผ่านความคึกคักที่สุดของปากแพรกตรงจุดที่ถนนจากตลาดตัดมาเป็นสี่แยกเล็กๆ แยกซ้ายไปลงแม่น้ำ ส่วนแยกขวานั้นเป็นวันเวย์ มองเห็นกลุ่มตึกแถวในยุคหลังที่สร้างโดยตระกูลตันติวานิชเหยียดยาว ภายในล้วนสะท้อนความเป็นย่านตลาดใหญ่ ขวนพาณิช  ร้านแหวนพลอยเก่าแก่อย่างร้านอาภรณ์ผ่านพ้นคืนวันมาคู่กัน


อดีต 5 ปี ณ ปากแพรก

"เท่าที่ทราบปิดไปนานละครับ แต่ยังมีร้านเก่าแก่บางร้านและป้ายถนนปากแพรกอยู่ที่ถนนปากแพรกอยู่ครับ"

"ปิดแล้วค่ะ คือมันเป็นถนนเส้นหลังตลาดสดถนนจะไม่ค่อยกว้างเท่าไร ทีแรกพ่อค้าแม่ค้าที่มีบ้านอยู่เส้นนี้ก็สนับสนุนอยู่แต่พอจัดหลายครั้งเข้ามันก็มีปัญหาเรื่องทางเข้าบ้านที่จอดรถ ปัญหาขยะ ปัญหาการวางสินค้าบังหน้าร้าน โน่นนี่นั่น ก็เลยหยุดค่ะ 

แล้วอีกอย่างเปลี่ยนผู้บริหารเทศบาลด้วย คงต้องรอนโยบายใหม่ แต่บ้านช่องแถวนั้นก็เริ่มหมดเสน่ห์แล้วค่ะ
เริ่มมีบ้านตึกมากขึ้นเรื่อย บ้านที่สมัยร้อยกว่าปีที่แล้วที่ว่าอนุรักษ์ไว้ก็โดนปล่อยให้ดูแย่กว่าเดิมค่ะ อย่างว่าถ้าจะบูรณะก็คงไม่มีงบประมาณ"

เสียงเซ็งแซ่บอกเล่าเรื่องราวของถนนคนเดินของปากแพรก กาญจนบุรี




ถนนปากแพรก เป็นถนนสายหลักเลียบริมแม่น้ำผ่านหน้าประตูเมืองกาญจนบุรี ถนนเส้นนี้เป็นวิถีชีวิตของคนเมืองกาญจน์ เพราะเมื่อก่อนยังไม่มีรถยนต์ จะใช้ทางน้ำในการคมนาคม การขนส่งค้าขาย แต่ก่อนมีค้าขายของป่าจาก อ.ศรีสวัสดิ์ อ.ทองผาภูมิ ไม้รวก ไม้ไผ่ ไม้ซุง ก็จะล่องมาตามลำน้ำแล้วมาขึ้นกันที่ท่าหน้าเมือง


แถวถนนปากแพรกเส้นนี้ บ้านเรือนต่างๆ ตามถนนปากแพรกสายนี้ก็ได้สร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยส่วนมากจะสร้างเป็นตึกชั้นเดียว และสองชั้น  มีเพียงร้าน "บุญผ่อง แอนด์ บราเดอร์" (Boonpong and Brothers) เท่านั้นที่เป็นตึก 3 ชั้น


บนถนนเส้นนี้จะเป็นศูนย์รวมของทุกอย่างตั้งแต่ร้านยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ร้านถ่ายรูปแบบใช้แฟลตก้อนถ่ายในห้องมืด อาหารการกิน เป็นต้น พูดได้ว่าถนนปากแพรกนี้เคยเป็นเส้นทางที่เจริญที่สุดยังคงมีกลิ่นอายแบบตะวันตกผสมผสานตะวันออก

สำหรับความโดดเด่นของถนนคนเดินสายนี้ คือเป็นแหล่งของกิน เป็นศูนย์รวมงานหัตถกรรม แกะสลัก แหล่งจับจ่ายใช้สอยของพื้นเมืองจากฝีมือของชาวบ้าน เช่น ผ้าขาวม้าจากหนองขาว เครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ จากหวาย ซึ่งมีมากในเมืองกาญจน์ นอกจากนี้ยังเป็นที่พบปะของศิลปินทั้งด้านศิลปะและดนตรี การแสดงศิลปะพื้นบ้านต่างๆ เช่น การแสดงโขนจิ๋วของเด็กอนุบาล เรียกว่า ใครอยากโชว์งานศิลปะ อยากเล่นดนตรี มาโชว์ได้ที่นี่





แล้วถนนคนเดินเส้นนี้ก็หายไปจากความทรงจำของนักท่องเที่ยวชาวไทยในหลายต่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะภาครัฐไม่ใส่ใจและไม่แก้ปัญหาอย่างจริงใจ

และแล้วเราก็พบว่าพวกนี้....ขี้โม้นี่หว่า...ใครนะ...ใครหน่อทำเฮอ!!!...นิสัยยยยยยยยยยย

ปากแพรก...ชุมชนร่วมสมัย


ณ ปากแพรก บ้านหลายหลังมีการออกแบบร่วมสมัยคล้ายกับอาคารในสมัยรัชกาลที่ 5 และแต่ละบ้านในชุมชนเกือบทุกหลังมีประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งต่างกันออกไป เช่น...


 บ้านสิทธิสังข์ ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นร้านกาแฟ 



บ้านบุญเยี่ยม เจียระไน ซึ่งมีลักษณะสถาปัตกรรมที่ผสมผสานมีเสาโรมันและระเบียงยื่นออกมา เป็นต้น และในชุมชนนี้เองก็มีบ้านขององค์สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบันอยู่ด้วย




หลักฐานชัดเจนถึงความเป็นชุมชนร่วมสมัย นอกจากสถานที่สำคัญ เช่น วัดต่างๆ อาคารร่วมสมัยหลายแห่ง ยังมีการจัดตั้งโรงงานกระดาษแห่งแรก โรงพยาบาล รวมถึงบ้านพักของบุคคลสำคัญของกาญจนบุรีอีกหลายท่าน



อาคารบ้านเรือนบางส่วนของถนนปากแพรกจึงถูกทิ้งร้าง บางส่วนถูกต่อเติมไปจากเดิม บางหลังถูกรื้อและสร้างใหม่ไปตามยุคสมัย  ทำให้ความเป็นชุมชนเก่าบนถนนปากแพรกเริ่มขาดการสืบทอดทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตในท้องถิ่น เช่นเดียวกับชุมชนดั้งเดิมอื่นๆ  

อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์คุณค่าด้านประวัติศาสตร์และเสน่ห์ของบ้านเรือนบนถนนปากแพรกยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่ อาทิเช่น กำแพงเมืองเก่า ประตูเมือง  ศาลหลักเมือง  วัดต่างๆ อันได้แก่ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) วัดถาวรวราราม (วัดญวน) พิพิธภัณฑ์สงคราม (JEATH war museum) และอาคารบ้านเรือนอีกหลายแห่ง  ซึ่งล้วนมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนเมืองกาญจน์

มีข้อมูลจากลุงคนหนึ่งเล่าว่า

" ลุงว่าแต่ก่อนแม่น้ำไม่ได้ไหลห่างบ้านและต่ำลงไปแบบนี้ "ก่อนหน้านี้มีคลองนอก คลองใน สันดอนมันกว้าง หน้าน้ำมาทีก็รวมเป็นสายเดียว สมัยนายกเทศมนตรีนิทัศน์ ถนอมทรัพย์นั่นละ ที่ถมตลิ่งให้มันกว้างออกไป บ้านเรือนขยายตัวไปอีกกว้าง แม่น้ำเลยไปอยู่ข้างล่างเขื่อนโน่น"

อ่าวววววววววววววว...แบบนี้ทำลายประวัติศาสตร์...ทำอย่างไรหละทีนี้??? พ่อแม่พี่น้องเอ๋ยยยยยยยยย....

ref.
๑๗๗ ปี เมืองชิโน-โปตุกีส บ้านปากแพรก สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า
พิพิธภัณฑ์มีชีวิตความหวังของการอนุรักษ์ชุมชนบนถนนปากแพรก

ปากแพรก ถนนสายสั้น คืนวันทอดยาว





100 ปี สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก



เป็นที่รับรู้กันดีอยู่แล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลำดับที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ได้ทรงปฏิบัติพระศาสนกิจเพื่อประเทศชาติและประชาชนในด้านต่างๆ มากมายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตลอดพระชนม์ชีพ จนได้รับการขนานพระนามว่า พระของประชาชน


เป็นความปลื้มปีติของพุทธศาสนิกชนคนไทยที่มีโอกาสได้ร่วมแสดงมุทิตาจิตต่อองค์สมเด็จพระสังฆราชที่ทรงเจริญพระชันษาครบ 100 ปี เป็นพระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทยที่ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกที่ยาวนานที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

และนับจากนี้ไปคือ เรื่องราวบางแง่บางมุมของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกที่น่าสนใจและน่าศึกษาเรียนรู้เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชีวิต



ทรงมีเชื้อสายทั้งจีน ญวน ผสมคนไทยอยุธยาและชาวปักษ์ใต้
     
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประสูติเมื่อเวลาราว 4 นาฬิกาหรือตีสี่ วันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2456 ณ บ้านเลขที่ 367 ถนนปากแพรก ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนหัวปีของนายน้อยและนางกิมน้อย คชวัตร
     
 ภูมิประวัติในวัยเด็กของสมเด็จพระสังฆราชถือว่ามีความน่าสนใจยิ่ง และอาจถือเป็นตัวอย่างความเป็น ชาวสยามแต่ดึกดำบรรพ์ได้ดี ด้วยสืบสาแหรกตระกูลมาจากหลายทิศหลายทางต่างชาติต่างภาษา


     
เริ่มจากวงศาคณาญาติฝ่ายบิดา กล่าวคือนายเล็กซึ่งเป็นปู่ของพระองค์สืบเชื้อสายทางหนึ่งมาจาก หลวงพิพิธภักดี(ช้าง)ชาวกรุงเก่าหรือชาวอยุธยา ขณะที่มารดาของนายเล็กชื่อนางจีนเป็นสาวชาวใต้จากเมืองตะกั่วทุ่ง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดพังงา
     
ขณะที่วงศาคณาญาติฝ่ายมารดา คุณตาคือนายทองคำบิดาของนางกิมน้อย เป็นคนเชื้อสายญวน ส่วนมารดาชื่อนางเฮงเล็กเป็นคนจีน แซ่ตัน ดั้งเดิมบรรพบุรุษโดยสารเรือสำเภามาจากเมืองจีน เรือแตกก่อนถึงฝั่งเมืองไทย แต่ก็รอดชีวิตมาขึ้นฝั่งเมืองไทยได้ แล้วจึงไปตั้งถิ่นฐานค้าขายอยู่เมืองกาญจนบุรี ส่วนชื่อกิมน้อยซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระคุณก็เป็น ภาษาญวนกิมแปลว่าเข็ม กิมน้อยก็คือ เข็มน้อยโดยญาติข้างฝ่ายมารดานี้ต่อมาใช้นามสกุลว่า รุ่งสว่าง

     
ทรงเป็นพระอภิบาลในหลวง ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์พระบรมฯ
     
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ 14 พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดเทวสังฆารามในปี 2476 จากนั้นทรงอุปสมบทซ้ำเป็นธรรมยุติกนิกาย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2476โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และยังคงฉายา สุวฑฺฒโน” (มีความหมายว่าผู้เจริญดี) ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ได้ประทานให้เมื่อครั้งเป็นสามเณร

Ref. http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9560000125123                 


สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  ทรงเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ของถนนปากแพรกและบ้านเดิมของท่านก็อยู่ที่นี่  ซึ่งเป็นบ้านอีกแห่งหนึ่งที่สามารถเรียนรู้เรื่องราวของท่านได้ที่นี่...ปากแพรก...