วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แม่น้ำสองสี..ไปรษณีย์..ประตูเมือง..




แม่น้ำ"แม่กลอง"...ต้นกำเนิดจากแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย (สีขุ่น) ไหลมาจากทิศเหนือด้านอำเภอทองผาภูมิซึ่งมีเขื่อนวชิราลงกรณ์กั้นอยู่ช่วงอำเภอทองผาภูมิ ไหลผ่านอำเภอไทรโยคจนมาถึงเมืองกาญจนบุรี

ส่วนแม่น้ำแควใหญ่ (น้ำใส) ไหลมาจากทิศเหนือเหมือนกัน ด้านอำเภอศรีสวัสดิ์ ถูกกักไว้ด้วยเขื่อนศรีนครินทร์ ครับ ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำแควน้อยที่ "บ้านลิ้นช้าง" (ฝั่งตรงกันข้ามกับปากแพรก) เรียกขานนามบริเวณที่แม่น้ำ 2 สายบรรจบกันว่า "ปากแพรก"

รวมกันไหลลงใต้ เรียกว่าแม่น้ำ "แม่กลอง" เมื่อนั่งเรือไปที่บริเวณ"ปากแพรก"ดังกล่าว จะเห็น น้ำสีขุ่นกับน้ำใส ผสมกัน แรกๆก็คนละสี แต่ในที่สุดก็"กลมกลืน"กันได้ แม่กลองเป็นแม่น้ำที่เลี้ยงชีวิตคนกรุงเทพฯครับ



จุดแรกที่ผมเดินผ่านคือไปรษณีย์หน้าเมืองครับ จากป้ายประวัติด้านหน้าบอกกับเราแค่เพียงว่าอาคารไม้เก่าแก่รูปทรงธรรมดาๆ อาคารนี้คือที่ทำการไปรษณีย์ในยุคแรกของเมืองกาญจนบุรี สภาพปัจจุบันถูกปล่อยทิ้งร้าง ผมลองแอบเมี่ยงๆ มองๆ ส่องดูข้างใน พบว่าค่อนข้างมืดและหลอน ….



ถัดมาคือ ...ประตูเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่บริเวณชุมชนปากแพรก เป็นประตูเมืองก่ออิฐถือปูนยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อปี พ.ศ. 2374 ครั้งย้ายเมืองกาญจนบุรีเก่า จากตำบลลาดหญ้ามาสู่ปากแพรก เนื่องด้วยยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยมีชัยภูมิในการตั้งรับข้าศึกได้ดีกว่าเก่า อีกทั้งยังสะดวกในการค้าขายกับเมืองต่างๆอีกด้วย




และประตูเมืองนี่หละที่บอกถึงความเก่าแก่ของเมืองกาญจน์ที่เริ่มตั้งเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2374  ใกล้กับประตูเมืองก็เป็นที่ตั้งของศาลหลังเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รู้ยังไง???? ซ่อมแซมสร้างใใหม่เป็นปีๆกว่าจะแล้วเสร็จ...เฮอ!!! ตรูหละเบื่อ....


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น