วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กำเหนิดปากแพรก...ยุคเมืองกาญจนบุรี



ปากแพรกเริ่มปรากฎชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



กาญจนบุรีมีหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับมาจากสมัยขอมเรืองอำนาจ ยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผมรับรู้จากชั่วโมงสังคมสมัยประถมว่า นี่คือเมืองหน้าด่านสำคัญที่มีผลต่อความอยู่รอดของไทย และเป็นสมรภูมิระหว่างไทยกับพม่าอยู่เนืองๆ อิทธิพลของสงครามทำให้เกิดการอพยพโยกย้าย รวมไปถึงการกวาดต้อนเทครัว จึงไม่แปลกที่กาญจนบุรีจะเป็นแหล่งรวมของคนหลายเชื้อชาติ ทั้ง ไทย มอญ ญวน จีน  ปกากะญอ




ถนนปากแพรก เป็นถนนเส้นแรก ที่สร้างในตัวเมืองกาญจน์ หลังจากย้ายขยับมาจาก ต.ลาดหญ้า เพื่อใช้แม่น้ำแควเป็นแนวรับจากการโจมตีของพม่า

โดยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้ก่อตั้งตำแหน่งตัวเมืองนี้ใหม่




ณ ตำบลริมน้ำแควใหญ่อย่างปากแพรก กลายเป็นเมืองกาญจนบุรีใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2374 ป้อมปราการ กำแพงเมืองต่างๆ คือสิ่งตกทอดสู่คนรุ่นหลัง ถนนปากแพรก ชุมชนเก่าที่มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานทอดยาวไปตามริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ และแม่กลอง ที่เป็นทางคมนาคมทางน้ำสายประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอดีต

และที่สำคัญ การลงหลักปักฐานของผู้คนรายรอบล้วนก่อให้เกิด "เมือง" ขึ้นมาตามกาลเวลา

และเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเจริญเติบโตของย่านปากแพรก...ณ กาญจนบุรีเมืองใหม่


คุยกันบางทีที่ลุงสุรพลก็ว่า "ที่นี่มันเกิดมาแบบเครือญาติ ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน" หากการก่อเกิดของย่านสักแห่งมีที่มาเช่นนี้ คงไม่แปลกที่ใครสักคนอาจไม่เลือกจากไปไหนแม้ในบั้นปลายชีวิตเลาะผ่านความคึกคักที่สุดของปากแพรกตรงจุดที่ถนนจากตลาดตัดมาเป็นสี่แยกเล็กๆ แยกซ้ายไปลงแม่น้ำ ส่วนแยกขวานั้นเป็นวันเวย์ มองเห็นกลุ่มตึกแถวในยุคหลังที่สร้างโดยตระกูลตันติวานิชเหยียดยาว ภายในล้วนสะท้อนความเป็นย่านตลาดใหญ่ ขวนพาณิช  ร้านแหวนพลอยเก่าแก่อย่างร้านอาภรณ์ผ่านพ้นคืนวันมาคู่กัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น